หน้าแรก / บทความ / โซล่าร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) ช่วยประหยัดค่าไฟได้จริงหรือ?

โซล่าร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) ช่วยประหยัดค่าไฟได้จริงหรือ?

ผู้ชม 28,059 ครั้ง | วันที่ 12 สิงหาคม 2019

 

โซล่าร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) ช่วยประหยัดค่าไฟได้จริงหรือ?

 


ประเทศไทยเป็นเขตที่มีอากาศเปลี่ยนแปลงได้หลายฤดูมากครับ แต่โดยส่วนใหญ่จะเป็นอากาศร้อนมากที่สุด ยิ่งร้อนขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีการเปิดเครื่องปรับอากาศมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ เพื่อลดค่าใช้จ่าย ค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนให้ลดลง รวมไปถึงการเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดมลพิษ รักษ์โลก ในหลายๆ ประเทศที่มีแสงแดดจัด จึงมีการพัฒนาระบบพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า ที่เรียกว่า เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) เพื่อทดแทนการผลิตไฟฟ้าในรูปแบบเดิมโดยผลักดันให้มีการนำ Solar Cell มาติดตั้งบนหลังคาบ้านที่อยู่อาศัย และบนอาคารต่าง ๆ หรือที่มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "โซลาร์รูฟท็อป" (Solar Rooftop) เพื่อให้บ้านทุกหลังที่ติดตั้งได้ทำการผลิตไฟฟ้าไว้ใช้เองในเวลากลางวัน เป็นการประหยัดไฟฟ้าและลดภาวะโลกร้อนไปด้วย อีกทั้งยังมีการส่งเสริมให้นำไฟฟ้าที่เหลือส่งต่อขายให้กับหน่วยงานของรัฐอีกด้วย

ปัจจุบันนี้ประเทศไทย เรื่อง โซลาร์รูฟท็อป ก็เริ่มเป็นที่นิยมขึ้นเรื่อยๆ 

ตอนนี้ คงมีคำถามมากมายในใจ ว่า...
 

-โซล่าร์รูฟท๊อป ช่วยประหยัดเงินได้จริงหรือ?
-โซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) คืออะไร?
-โซลาร์รูฟท็อป นั้น มีข้อดีอย่างไร? ทำไมทั่วโลกถึงได้ ตื่นตัว และเชิญชวนให้ใช้ Solar Cell
"มาหาคำตอบกันครับ"

 

โซล่าร์รูฟท๊อป ช่วยประหยัดเงินได้จริงหรือ? ขอตอบว่า "ช่วยได้แน่นอนครับ"

คุ้มแค่ไหน? คุ้มยังไง? มาลองเทียบ จุดคุ้มทุนในแต่ละแพ็คหลักๆ ที่คนส่วนใหญ่นิยมติดตั้งกัน

ปัจจัยต่างๆ ที่ใช้ในการคำนวณ

1. ขนาดของกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าในแต่ละวัน
2. ปริมาณของแดด และระยะเวลาที่ใช้ผลิตแต่ละวัน (ตั้งไว้ที่ 5 ชั่วโมง/วัน)
3. เงินลงทุน เพื่อคำนวณ จุดคุ้มทุนในแต่ละขนาดกำลังการผลิต
4. อัตราค่าไฟฟ้า ตั้งไว้ที่หน่วยละ 4.5 บาท (แปรผันตามความจริงของแต่ละสถานที่)

แพ็คที่ 1:  กำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าที่ 3.5 kW. 

- เฉลี่ยผลิตไฟฟ้าได้ 15 หน่วย/วัน  (450 หน่วย/เดือน) 
- ประหยัดค่าไฟฟ้าได้มูลค่า 2,025 บาท/เดือน (24,300 บาท/ปี) (เลทค่าไฟ 4.5 บาท/หน่วย)
- ลงทุนค่าอุปกรณ์ และติดตั้งโดยประมาณ : 140,000 บาท
- ระยะเวลาคืนทุน 6 ปี (ปีที่ 7 เป็นต้นไป ใช้ไฟฟรี เดือนละ 2,025 บาท)

แพ็คที่ 2:  กำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าที่ 5.0 kW.

- เฉลี่ยผลิตไฟฟ้าได้ 20 หน่วย/วัน  (600 หน่วย/เดือน) 
- ประหยัดค่าไฟฟ้าได้มูลค่า 2,700 บาท/เดือน (32,400 บาท/ปี) (เลทค่าไฟ 4.5 บาท/หน่วย)
- ลงทุนค่าอุปกรณ์ และติดตั้งโดยประมาณ : 220,000 บาท
- ระยะเวลาคืนทุน 6 ปี (ปีที่ 7 เป็นต้นไป ใช้ไฟฟรี เดือนละ 2,700 บาท)

แพ็คที่ 3:  กำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าที่ 10.00 kW.

- เฉลี่ยผลิตไฟฟ้าได้ 40 หน่วย/วัน  (1200 หน่วย/เดือน) 
- ประหยัดค่าไฟฟ้าได้มูลค่า 5,400 บาท/เดือน (64,800 บาท/ปี) (เลทค่าไฟ 4.5 บาท/หน่วย)
- ลงทุนค่าอุปกรณ์ และติดตั้งโดยประมาณ : 400,000 บาท
- ระยะเวลาคืนทุน 6 ปี (ปีที่ 7 เป็นต้นไป ใช้ไฟฟรี เดือนละ 5,400 บาท)

 หมายเหตุ: สมมุติฐานค่าที่เกี่ยวข้อง เป็นเพียงการประเมินคร่าวๆ ซึ่งต้องสำรวจหน้างานเพื่อประมาณอีกครั้งครับ

 

* จากการประเมิน จะเห็นว่า คุ้มค่ากับการลงทุนมากครับ ผลตอบแทนสูง และใช้ระยะเวลาในการคืนทุนต่ำ *

"คุ้มครับ"

 

 

ภาพตัวอย่างโซลาร์รูฟท็อปที่ติดตั้งอยู่บนหลังคาบ้าน


โซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) คือ การผลิตไฟฟ้าจากเซลล์รับพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาบ้านที่อยู่อาศัย หรือบนอาคารต่างๆ เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เองได้ หรือส่งขายไฟฟ้าในราคาพิเศษคืนให้กับหน่วยงานของรัฐตามโครงการที่การไฟฟ้าจัดขึ้นเป็นรอบๆ


หลักการทำงานของโซลาร์รูฟท็อปคือ การนำเอาแผงเซลล์แสงอาทิตย์ มาติดตั้งเพื่อรับแสงจากดวงอาทิตย์ ตัวแผงผลิตไฟฟ้าออกมาเป็นกระแสตรง (DC) ส่งเข้าเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) ชนิดเชื่อมต่อกับสายส่งการไฟฟ้า เพื่อเปลี่ยนให้เป็นไฟกระแสสลับ (AC)  โดยที่จะมีตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า (MDB) ทำหน้าที่ในการควบคุมและจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ภายในบ้าน เท่านี้ เราก็จะมีกระแสไฟฟ้าที่พร้อมใช้งานสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านต่างๆ ได้แล้ว เช่น ทีวี พัดลม ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ

 

หลักการทำงานของแผงโซล่าร์รูฟท็อป

1. แผงเซล์แสงอาทิตย์ จะรับแสงอาทิตย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า

2. กระแสไฟฟ้าที่ได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์จะส่งผ่าน DC Fuse (อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน) ส่งต่อไปยัง Inverter (เครื่องแปลงไฟฟ้า)

3. Inverter (เครื่องแปลงไฟฟ้า) จะเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงเป็น กระแสสลับ (AC) และส่งผ่านต่อไปยัง AC Surege Protector

4. AC Surege Protector (อุปกรณ์ป้องกันแรงดันกระชาก) จากนั้นก็จะส่งผ่าน ตู้ควบคุมไฟฟ้าภายในบ้าน

5. ตู้ควบคุมไฟฟ้าภายในบ้านจะส่งผ่านกระแสไฟฟ้าไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้าน

 

เรื่อง "โซลาร์รูฟท็อป" ในต่างประเทศ ตอนนี้ถือเป็นเรื่องปกติไปแล้ว

จากกระแสตื่นตัวเรื่องโลกร้อน การรณรงค์ลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงต่างๆ  "โซล่าร์รูฟท็อป" เลยเป็นคำตอบจากนานาประเทศ ด้วยเหตุที่นอกจากจะเป็นพลังงานที่ผลิตไฟฟ้าได้ต่อเนื่องไม่มีวันหมดแล้ว ยังไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ หรือผลเสียต่อโลกอีกด้วย

 

มาลองมาดูกันครับ  มีประเทศไหนบ้างที่มีการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป และเค๊าผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้งานได้เท่าไหร่?

 

เมืองมาสดาร์ ซิตี้ (Masdar City) ณ กรุงอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี)

"มาสดาร์ ซิตี้ (Masdar City)" เมืองพลังงานหมุนเวียนแห่งอนาคต ตั้งอยู่แถบชานกรุงอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) อาคารทั้งหมดในเมืองนี้ใช้ไฟฟ้าจากแผงโซลาร์รูฟท็อปที่ติดตั้งบนหลังคาอาคารเป็นพลังงานไฟฟ้าหลัก โดยทั้งโครงการนี้ได้วางเป้าให้เปิดตัวเต็มรูปแบบภายในปี ค.ศ. 2016 เพื่อรองรับการอยู่อาศัยของประชากรราว 40,000 คน และอีก 50,000 คน ที่คาดว่าจะเดินทางเข้าออกเมืองในแต่ละวัน เรียกว่าเป็นเมืองต้นแบบให้กับเมืองอื่นๆ ของโลกเลยครับ
 
 
ชุมชนพลังงานแสงอาทิตย์ ณ เมืองไฟร์บวร์ก ประเทศเยอรมนี
เมืองไฟร์บวร์ก (Freiburg) ประเทศเยอรมนี ได้มีการจัดตั้ง "Solar Settlement" หรือ "ชุมชนพลังงานแสงอาทิตย์ต้นแบบ" โดยอาคารทุกหลังมีการติดตั้งแผงโซลาร์รูฟท็อป ไว้บนหลังคาเพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า ทำให้ชุมชนแห่งนี้สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ถึง 420,000 กิโลวัตต์/ชั่วโมง และคิดเป็นพลังงานที่ส่งออกสูงสุดต่อปีถึง 445 กิโลวัตต์ เมื่อคำนวณแล้วจะเห็นได้ว่าชุมชนแห่งนี้สามารถลดการใช้พลังงาน เมื่อเทียบกับน้ำมันถึง 200,000 ลิตร และลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 500 ตัน
 
 
การติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปในประเทศญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่น ประชาชนต่างให้ความร่วมมือในการหันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้พลังงานนิวเคลียร์ที่มีความเสี่ยงสูงและก่อมลภาวะ ผลจากความร่วมมือกันทุกภาคส่วน พบว่าสามารถผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นถึง 4,000 เมกะวัตต์ เทียบเท่าโรงงานเตาปฏิกรณ์ไฟฟ้านิวเคลียร์ถึง 4 โรง
อีกทั้งรัฐบาลยังมีนโยบายในการรับซื้อไฟฟ้าจากบ้านของประชาชนในราคาสูงที่กว่าไฟฟ้าที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติถึง 3 เท่าเลยทีเดียว
 

โซล่าร์รูฟท็อป" เหมาะสำหรับประเทศไทยของเราหรือไม่ ?

ประเทศไทยมี  ทำเลที่ตั้งภูมิประเทศ อยู่ในโซนที่มีความเข้มของแสงอาทิตย์ดีตลอดทั้งปี เหมาะสมอย่างยิ่งต่อการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้า
ด้วยเหตุนี้ทางรัฐบาลของไทยจึงได้ผลักดันให้มีการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปได้อย่างเสรี เพื่อให้ประชาชนสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าใช้เอง ลดการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิง และนำพลังงานที่เหลือไปจำหน่ายให้แก่รัฐเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน โดยมีการตั้งเป้าไว้ว่า ในช่วง 5 ปีแรก (ระหว่างปี 2558 - 2563)
ประเทศไทยจะสามารถติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป สำหรับบ้านอยู่อาศัย ขนาดไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ ประมาณ 1 แสนครัวเรือน  สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 500 เมกะวัตต์ และในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้า จะขยายการติดตั้งเพิ่มขึ้นอีก 1 ล้านชุด ซึ่งก็จะทำให้มีกำลังในการผลิตไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 5,000 เมกะวัตต์
 
 

ขอสรุปเรื่องความคุ้มค่า หลังการติดตั้ง Solar rooftop แล้วดีหรือไม่

คุ้มหรือไม่กับการลงทุน?

 

  • คุ้มที่ 1 ผลิตไฟฟ้าไว้ใช้ในเวลากลางวัน ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าและนำไฟฟ้าส่วนที่เหลือจำหน่ายให้กับหน่วยงานของรัฐ ทำให้มีรายได้เข้าสู่ครัวเรือน
  • คุ้มที่ 2 กระบวนการผลิตไฟฟ้า ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะที่เป็นพิษ จึงช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และลดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย
  • คุ้มที่ 3 แผงโซล่าร์เซลล์ มีอายุการใช้งานยาวนานกว่า 25 ปี ติดตั้งแล้ว ใช้งานกันไปยาวๆ
  • คุ้มที่ 4 แผงของโซล่าร์เซลล์ช่วยให้อุณหภูมิภายในบ้านและอาคารลดลงจากการตกกระทบของแสงแดด
  • คุ้มที่ 5 สามารถคืนทุนภายในระยะเวลา 5-8 ปี เท่านั้น ที่เหลือคือกำไรล้วนๆ

สรุปว่า "คุ้มสุดคุ้มครับ"

 

แล้วจะหาซื้อได้ที่ไหน หากสนใจจะมีหน่วยงานใดรับติดตั้งให้หรือเปล่า ?

 

บริษัท อิมเม้นซ์ นิช จำกัด ผู้ให้บริการติดตั้งโซล่าร์รูฟ ท็อป ที่มาพร้อมแผงโซล่าร์ เซลล์ ที่ได้มาตรฐานระดับสากล และ Inverter ที่ผ่านการรับรองจากการไฟฟ้านครหลวง (MEA) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) โดยมีแพ็คเก็จ และมูลค่าผลตอบแทนหลายรูปแบบให้เลือกครับ

หากสนใจติดตั้ง หรือต้องการรายละเอียด สามารถติดต่อสอบถามได้ที่

เบอร์ Call Center : 081846-0558
อีเมลล์ :  support@gump.in.th
Facebook : www.facebook.com/gump.in.th
Line Id: @gump.in.th  (มี@ ข้างหน้าด้วยนะครับ)

 


 

ตัวอย่างการติดตั้งแผงโซล่าร์รูฟ ท๊อป (Solar rooftop) ในรูปแบบต่างๆ


 

มาทำความรู้จักชนิดต่างๆ ของแผงโซล่าเซลล์กัน

คลิ๊กเลยยย!!